top of page

คุณประโยชน์หลักของ "คอลลาเจน"

aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL3dvLzAvdWQv
1. ช่วยรักษาโรคข้อเสื่อม

         มีการศึกษาของ University of Tuebingen ประเทศเยอรมนี ด้าน "สุขภาพ" เกี่ยวกับภาวะ "โรคข้อเสื่อม" ในประชากรที่มีภาวะข้อเสื่อมจํานวน 2,000 คน โดยศึกษาผู้ป่วยจากโรคข้อเสื่อมที่ได้รับ "คอลลาเจน" (Collagen Hydrolysate) ในปริมาณ 5 กรัมต่อวัน ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 3 เดือน พบว่า คอลลาเจนสามารถช่วยลดการอักเสบ และอาการเจ็บปวด จากการเคลื่อนไหวในบริเวณเซลล์กระดูกอ่อนของข้อต่างๆ ได้

2. ลดเลือนริ้วรอย

         มีงานวิจัยของสถาบันผิวหนังประเทศญี่ปุ่น ในผู้หญิงอายุระหว่าง 35-55 ปี จํานวน 47 คน โดยให้รับประทาน "คอลลาเจน" ในลักษณะเครื่องดื่มปริมาณ 10 กรัมต่อวัน เป็นระยะเวลา 3 เดือน พบว่าผิวหนังของกลุ่มผู้ทดลอง มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ริ้วรอยลดเลือนลง แผลเป็นดูจางลง และผิวมีความชุ่มชื้นมากขึ้น

3. ป้องกันฝ้า จุดด่างดำ

        "คอลลาเจน" ช่วยป้องกันฝ้า กระ จุดด่างดำ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบไหลเวียนโลหิต โดยเฉพาะหลอดเลือดเล็ก ช่วยยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานิน ทำให้ผิวดูกระจ่างใสขึ้น แถมยังช่วยให้เส้นผมและเล็บแข็งแรงขึ้นอีกด้วย

4. คอลลาเจน+วิตามินซี

       การรับประทานอาหารเสริมคอลลาเจน หรืออาหารทั่วไปที่มีคอลลาเจน เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพดีที่สุด ควรรับประทานคู่กับอาหารที่มีวิตามินซีด้วย เนื่องจากวิตามินซีจะเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมคอลลาเจนให้เข้าสู่ร่างกายมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นการช่วยทำให้ผิวของคุณสาวๆ มีสุขภาพดีขึ้น สว่างใส แลดูอ่อนเยาว์ และมีสุขภาพดีขึ้น

กิน "คอลลาเจน" แบบไหนดี?

          ข้อมูลจาก พญ.ชุลีกร วรยิ่งยง ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพผิวหนัง ความงาม และการแพทย์ผสมผสาน  ระบุว่า การรับประทานอาหารเสริมคอลลาเจน บางยี่ห้อ ไม่ได้ช่วยในการเสริมคอลลาเจนให้กับผิว เนื่องจากน้ำย่อยในกระเพาะย่อยสลายคอลลาเจนซึ่งเป็นโปรตีนไปหมด 

ในขณะเดียวกัน ข้อมูลจาก สมาคมแพทย์ผิวหนัง ระบุว่า มีงานวิจัยบางชิ้นแสดงให้เห็นว่าการรับประทาน "คอลลาเจนจำเพาะยี่ห้อ" อาจทำให้ผิวดีขึ้น เช่น ทำให้ผิวมีความยืดหยุ่นสูงขึ้นและลดริ้วรอยที่เกิดตามวัย ทั้งนี้ ไม่เคยมีงานวิจัยว่า คอลลาเจนจำเพาะยี่ห้อ จะทำให้ริ้วรอยดีขึ้นกว่าการรับประทานคอลลาเจนจากอาหารทั่วไปที่มีราคาถูก

ดังนั้นหากจะหาซื้อคอลลาเจนมากิน ต้องศึกษาและใช้วิจารณญาณให้ดี อย่าหลงเชื่อคำโฆษณาเกินจริง แต่ต้องสามารถตรวจสอบได้ว่า เมื่อทานแล้วได้ผลดีต่อสุขภาพร่างกายจริงๆ 

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.thairath.co.th/lifestyle/woman/health/1512626

bottom of page